การให้คำปรึกษาแนะนำ ที่ปรึกษาธุรกิจ ช่วยอะไรเจ้าของวิสาหกิจได้บ้าง อย่างไร

    ธุรกิจทุกขนาด ย่อมประสบปัญหาที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับประเภทของอุตสาหกรรมที่ดำเนินธุรกิจอยู่ในขณะนั้น ขนาดของกิจการ ลักษณะของผลิตภัณฑ์และตลาดของสินค้า การผลิต เทคโนโลยีการผลิตเฉพาะทาง การประกันคุณภาพ บุคลากรที่ปฏิบัติการ ข้อจำกัดหรือการจัดสรรเพื่อใช้ประโยชน์ทางการเงิน ปัญหาต้นทุนที่จำแนกได้ยากหรือการที่มีรูปแบบบัญชีที่ฝ่ายบริหารติดตามตรวจสอบได้ยาก เป็นต้น นอกจากนี้ วิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่อาจประสบปัญหาด้านการตลาดต่างประเทศเนื่องจากการถูกกีดกันทางการค้า หรือมีต้นทุนสูงเมื่อดำเนินการผลิตแบบรับช่วงการผลิตจากเจ้าของเครื่องหมายการค้า ต้นทุนค่าพลังงานทั้งใรส่วนที่เป็นกระแสไฟฟ้าและส่วนที่เป็นเชื้อเพลิงสูงโดยที่วิสาหกิจไม่สามารถแก้ไขได้ตามลำพัง ดังนั้นการเข้าร่วมโครงการจึงเป็นการนำเสนอปัญหาให้ได้รับการแก้ไขอย่างถูกจุดในขั้นตอนแรก

    ปัญหาเท่าที่พบจากการให้บริการปรึกษาแนะนำ สามารถจำแนกได้ 2 ประการหลัก ๆ ดังนี้
    1. ปัญหาหลักของการบริหารธุรกิจ
      • ปัญหาด้านการผลิต
      • ปัญหาด้านการตลาด
      • ปัญหาด้านบัญชี-การเงิน
      • ปัญหาด้านการบริหารงานบุคคล
      • ปัญหาในการวางแผนกลยุทธ์ขององค์กร เพื่อการเติบโตในอนาคต
      • ปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน-กรรมการและผู้ถือหุ้น ตลอดจนเครือญาติ (ไม่รับปรึกษาไม่ว่ากรณีใด ๆ)

    2. ปัญหาเฉพาะทางของวิสาหกิจ
      • การปรับปรุงเทคนิคการผลิต ไม่รู้จะทำอย่างไร
      • ค่าพลังงานสูงมาก ไม่ทราบจะให้ใครมาช่วย
      • จะพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะทางที่ใช้ผลิตอยู่ให้ดีขึ้น จะหาได้ที่ไหน
      • จะป้องกันไม่ให้เครื่องจักรชำรุด จะวางแผนอย่างไร
      • จะปรับปรุงเครื่องจักรให้สามารถเพิ่มผลผลิต ทำได้อย่างไร
      • จะพัฒนาขีดความสามารถของพนักงงาน มีแนวทางอย่างไร
      • จะส่งออกสินค้าไปต่างประเทศได้อย่างไร
      • จะขยายตลาดเพิ่มทำได้อย่างไร
      • จะจดมาตรฐานสินค้าของตนเองได้อย่างไร
      • ทำอย่างไรจึงจะมีเครื่องหมายการค้าของตนเองบ้าง
      • จะหาแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี แต่ราคาถูกกว่าเดิมได้อย่างไร
      • จะหาความรู้และเข้าใจ IT ได้จากไหน
      • จะควบคุมกระบวนการผลิตตลอดเวลา ให้ทันเหตุการณ์ได้อย่างไร
      • จะขายสินค้า OEM ให้กับเจ้าของ "Brand" สินค้ารายอื่นได้อย่างไร
      • ทำอย่างไรจึงจะมีสินค้าของตนเองหลังจากที่ผลิตให้กับคนอื่นมาเป็นเวลานาน
      • จะพัฒนาสินค้าของตนเองให้เร็วขึ้นได้อย่างไร
      • จะตรวจสอบผลิตภัณฑ์ของตนเองให้เป็นที่ยอมรับของลูกค้าในต่างประเทศ ทำได้อย่างไร
      • จำดำเนินการจัดทำมาตรฐานเปรียบเทียบอุตสาหกรรม (Benchmarking) ได้อย่างไร
      • จะขายสินค้าด้วยระบบ e-commerce ได้ไหม
      • จะจดทะเบียนเครื่องจักรได้อย่างไร
      • จะจัดทำระบบบริหารคุณภาพได้อย่างไร ควรเลือกแบบไหนดี แล้วให้ใครเป็นผู้รับรอง
      • จะควบคุมสต๊อกสินค้าได้อย่างไร
      • จะกู้เงินเพื่อให้โครงการดำเนินการต่อไปได้จากที่ใด
      • สินค้ามีต้นทุนแพง จะลดได้อย่างไร
      • มีปัญหาผลกระทยสิ่งแวดล้อม จะหาใครมาช่วยปรึกษาแนะนำ
      • จะดำเนินการด้านความปลอดภัยในการทำงานให้ถูกต้องได้อย่างไร
      • จะแก้ไขปัญหาการส่งออก-นำเข้าได้อย่างไร
      • การประกันความเสียงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศได้อย่างไร
      • จะจดลิขสิทธิ์-สิทธิบัตรได้อย่างไร
      • จะทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และเทคโนโลยีอย่างไรดี
      • ผู้บริหารมีแนวทางอย่างไรในการประเมิน-วิเคราะห์สภาพแวดล้อมของตนเอง เพื่อกำหนดกลยุทธ์ได้ถูกต้อง สอดคล้องกับเหตุการณ์ในอนาคต
      • จะจดทะเบียนเข้าตลาดหลักทรัพย์ในอนาคต ควรวางแผนอย่างไรในวันนี้
      • และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย


    ทางเลือกในการแก้ปัญหา โดยสมัครเข้าร่วมโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย
    เจ้าของวิสาหกิจ สามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการได้ที่ โครงการ ITB

    สมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ <โอกาสสุดท้าย !!!! ภายในวันที่ 10 มิถุนายน 2545>
    ศูนย์ประสานงานที่ปรึกษา SMEs
    ตู้ ปณ. 5 ปณฝ. จันทรเกษม
    กรุงเทพฯ 10904

    หรือส่งใบสมัครทางโทรสารได้ที่
    โทรสาร 02-513-8052

    กลับหน้าแรก