Invigorating Thai Business

    โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย (Invigorating Thai Business) หรือโครงการ ITB

    หลักการและเหตุผล
    วิกฤตการณ์ทางการเงินและภาวะเศรษฐกิจตกต่ำที่ต่อเนื่องมาตั้งแต่กลางปี พ.ศ.2540 ส่งผลให้ ธุรกิจไทยต้องได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ผู้ประกอบการอยู่ในสภาพขาดสภาพคล่อง ตลาดหดตัวอย่างรุนแรง โดยเฉพาะตลาดส่งออกหลัก ซึ่งหากธุรกิจอุตสาหกรรมของไทยไม่สามารถปรับตัวรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที อาจจะส่งผลถึงการเลิกจ้างแรงงานหรือปิดกิจการในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม ก็ยังมีวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหลายประเภทที่มีศักยภาพเพียงพอที่ จะปรับตัวและขยายตลาดสู่ต่างประเทศได้ หากได้รับความช่วยเหลือจากที่ปรึกษาที่มีประสบการณ์ธุรกิจกว้างขวาง ช่วยชี้แนะและดูแลการปรับปรุง และแก้ไขปัญหาของกิจการ ไม่ว่าจะเป็นด้านการผลิต การตลาด การบริการจัดการ หรือการเงิน ซึ่งจะมีผลช่วยให้ธุรกิจไทยสามารถรักษาการจ้างงาน พัฒนาและขยายการส่งออก และนำรายได้เข้าสู่ประเทศเพื่อผลต่อการพัฒนาสังคมไทยโดยรวม รัฐบาลจึงได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม โดยกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการ ชุบชีวิตธุรกิจไทย (Invigorating Thai Business - ITB) โดยใช้งบประมาณสำรองเพื่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปีงบประมาณ 2545 จำนวน 2,000 ล้านบาท

    วัตถุประสงค์

    เพื่อช่วยเหลือธุรกิจไทย จำนวน 2,600 กิจการ ให้สามารถแก้ไขปัญหาการประกอบธุรกิจ ยกระดับปรับปรุงความสามารถในการประกอบการ เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันในเวทีการค้าโลก รวมทั้งคงสภาพการจ้างงานไว้ได้ จัดนักวินิจฉัยสถานประกอบการเข้าวิเคราะห์สถานภาพ ศักยภาพ และปัญหาของกิจการ และจัดที่ปรึกษาเฉพาะด้านเข้าให้บริการปรึกษาแนะนำเชิงลึกเพื่อพลิกฟื้นสถานการณ์ของธุรกิจ

    คุณสมบัติของผู้รับบริการ

    วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและภาค บริการที่ยังมีศักยภาพเชิงพาณิชย์ และมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    1. เป็นกิจการที่จ้างงานไม่เกิน 200 คน หรือ มีมูลค่าสินทรัพย์ถาวร (ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้านบาท
    2. เป็นกิจการที่มีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นอยู่ไม่น้อยกว่า 50%
    3. เป็นกิจการที่จดทะเบียนการค้าและดำเนินธุรกิจอยู่แล้ว

    ระยะเวลาโครงการ
    พฤศจิกายน 2544 - กันยายน 2545

    ค่าใช้จ่ายในการรับบริการ
    สถานประกอบการต้องร่วมรับภาระค่าใช้จ่าย 2 อัตราตามหลักเกณฑ์ดังนี้

    ประเภท
    ขนาด
    ค่าใช้จ่าย
    ITB-1 จ้างงานต่ำกว่า 100 คน 10% ของค่าจ้างที่ปรึกษาเชิงลึก
    (คาดว่าประมาณ 25,000 - 60,000 บาทต่อกิจการ)
    ITB-2 จ้างงานตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป 20% ของค่าจ้างที่ปรึกษาเชิงลึก
    (คาดว่าประมาณ 50,000-120,000 บาทต่อกิจการ))

    ประโยชน์ที่สถานประกอบการจะได้รับจากการเข้าร่วมโครงการฯ
    1. วิสาหกิจสามารถอยู่รอด และรักษาสภาพการจ้างงานไว้ได้
    2. วิสาหกิจมีแผนฟื้นฟูกิจการที่ดี ได้รับการสนับสนุนจากแหล่งสินเชื่อ หรือแหล่งทุนอื่น
    3. วิสาหกิจมีความสามารถแข่งขันสูงขึ้น มีผลกำไรและความสามารถชำระหนี้สูงขึ้น
    4. ผู้ประกอบการได้รับข้อมูลดัชนีสถานภาพและศักยภาพเปรียบเทียบความสามารถของกิจการ กับเกณฑ์ของธุรกิจประเภทเดียวกัยของประเทศไทยไทย และต่างประเทศ

    ข้อควรปฏิบัติสำหรับผู้เข้ารับบริการ
    1. ผู้บริหารต้องมีความตั้งใจจริงที่จะร่วมดำเนินงานโครงการให้สำเร็จลุล่วง
    2. เตรียมบุคลากรหรือทีมงานที่มีความพร้อมที่จะทำงานร่วมกับทีมที่ปรึกษาได้ตลอดโครงการ
    3. ให้ความร่วมมือกับทีมที่ปรึกษาและให้ข้อมูลของกิจการที่จำเป็นต่อการให้บริการปรึกษาแนะนำ เพื่อประโยชน์สูงสุดในการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกิจการ
      ผู้รับผิดชอบโครงการ
      กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
      ติดต่อสอบถามรายละเอียดโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย (โครงการ ITB)

      • กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
        ถนนพระราม 6 แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
        โทรศัพท์ 0-2202-4548-9,0-2202-4599 โทรสาร 0-2246-4300,0-2246-4302
        website : www.smethai.net , www.dip.go.th

      • สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
        ชั้น 12-15 อาคารยาคูลท์ 1025 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน พญาไท กรุงเทพฯ 10400
        โทรศัพท์ 0-2619-5500 โทรสาร 0-2619-8100
        website : www.ftpi.or.th

      • สถาบันยานยนต์
        655 นิคมอุตสาหกรรมบางปู ซอย 1 หมู่ 2 ถนนสุขุมวิท กม.34 ต.บางปูใหม่ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ 10280
        โทรศัพท์ 0-2324-0710-9 ต่อ 333, 777 โทรสาร 0- 2323-9598
        website : www.thaiauto.or.th

      • สถาบันไทย-เยอรมัน
        700/1 นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ถนนบางนา-ตราด (กม. 57) ตำบลคลองบำหรุ
        อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20000
        โทรศัพท์ 0-3821-5047 โทรสาร 0-3874-3465-7
        website : http://www.tgi.or.th

      • สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ
        อาคารพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ ซอยตรีมิตร กล้อวยน้ำไท ถนนพระราม 4 เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
        โทรศัพท์ 0-2713-5492 ต่อ 174 โทรสาร 0-2712-1593 ต่อ 170
        website :http://www.thaitextile.org

      • สถาบันไฟฟ้าและอิเล็คทรอนิกส์
        57 อาคารกรมโรงงานอุตสาหกรรม ชั้น 6 ถนนพระสุเมรุ เขตพระนคร กรุงเทพฯ 10200
        โทรศัพท์ 0-2280-7272 โทรสาร 0-2280-7277 0-2280-7604
        website : http://www.thaieei.com

      • บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
        475 อาคารสิริภิญโญ ชั้น 9 ถนนศรีอยุทธยา เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
        โทรศัพท์ 0-2201-4255 ต่อ 1041 โทรสาร 0-2201-3723-4 Call Center 1357
        website :http://www.sifc.co.th

      • สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
        ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โซนซี ชั้น4 เลขที่ 60 ถนนรัชดาภิเษกตัดใหม่ เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
        โทรศัพท์ 0-2229-4255 ต่อ 194 โทรสาร 0-2229-4941-2
        website :http://www.fti.or.th

      • สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
        โครงการพัฒนาระบบวินิจฉัยและให้คำปรึกษาแนะนำสถานประกอบการ
        ชั้น 5 อาคารสถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี 534/4 ซอยพัฒนาการ 18 ถนนพัฒนาการ เขตสวนหลวง กรุงเทพฯ 10250
        โทรศัพท์ 0-2717-3000-19 โทรสาร 0-2719-9489-90
        website :http://www.tpa.or.th

      • สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
        website :http://www.industry.go.th

      • ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาค 11 แห่ง
        ที่จังหวัดเชียงใหม่ พิษณุโลก พิจิตร อุดรธานี ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์
        สุพรรณบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา

      ที่มา: แผ่นพับประชาสัมพันธ์โครงการชุบชีวิตธุรกิจไทย
      รายละเอียดโครงการชุบชีวิตธุรกิจไทยของและดาวโหลดใบสมัคร   กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม   กระทรวงอุตสาหกรรม

      หน่วยงานร่วมดำเนินการ:/ศูนย์ปรึกษาแนะนำธุรกิจ

      หน่วยงานที่ดำเนินงานให้คำปรึกษาแนะนำ และการสนับสนุน SME ที่มีคุณภาพ มีดังนี้
      • สถาบันคีนัน เอเซีย
        เป็นสถาบันอิสระ โดยการสนับสนุนของ USAID มีขอบข่ายดำเนินงานระดับสากล
      • SMEThailand.NET
        ศูนย์ประสานงานที่ปรึกษาและเครือข่าย SMEs ของไทย ที่จะส่งข้อมูลวิสาหกิจที่มีมาตรฐานไปยังเครือข่าย SMEs ทั่วโลก และจำหน่าย/เผยแพร่สินค้าของ SMEs ไทย ผ่านช่องทาง  เครือข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนและส่วนประกอบ OEM ของไทย

      รายนามที่ปรึกษา ที่ผ่านการฝึกอบรม "การจัดทำแผนธุรกิจ" รุ่นที่ 3 จากสถาบัน SME

      ที่ปรึกษาที่มีรายนามตามรายชื่อต่อไปนี้ เป็นที่ปรึกษาที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตร "การจัดทำแผนธุรกิจ" จากสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางขนาดย่อม หรือ ISMEDเมื่อปี 2544 ซึ่งท่านสามารถตรวจสอบได้
      ตรวจดูรายชื่อที่ปรึกษาของท่านได้ เพียงแต่  คลิ๊กที่นี่
      กลับไปหน้าความหมายของ SME
      กลับสู่หน้าแรก